การเวก (พืช) คืออะไร

การเวก (climbing ylang-ylang, climbing ilang-ilang, manorangini, hara-champa หรือ kantali champa) เป็นชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Artabotrys siamensis Miq. ในวงศ์ Annonaceae ดอกหอมอ่อน กลีบดอกคล้ายกระดังงาจีน แต่ขนาดเล็กกว่า, กระดังงัว กระดังงาเถา หรือ หนามควายนอน ก็เรียก

ลักษณะทั่วไป

  • ต้น การเวกเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งที่มีขนาดใหญ่จะมีมือเกาะรูปตะขอยื่นออกมาจากเถาเถาบริเวณยอดอ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อเถาแก่ก็จะเป็นสีน้ำตาล
  • ใบ การเวกจะมีพุ่มใบที่หนาแน่นมากเป็นไม้ใบเดี่ยวออกใบสลับกันตามข้อต้นใบเป็นรูปขอบขนานหรือมนรี ทั้งโคนใบและปลายใบจะแหลมมีก้านใบสัน พื้นใบสีเขียวเข้ม เป็นคลื่นเล็กน้อย ขอบใบเรียบไม่มีจัก
  • ดอก ดอกการเวกจะออกตรงโคนต้นใบ ลักษณะดอกจะเป็นดอกเดี่ยวตรงโคนก้านดอกจะมีมือเกาะดอกเมื่อแรกออกจะเป็นสีเขียว แล้วจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นสีเหลือง ในหนึ่งดอกจะมี กลีบ ซึ่งแบ่งเป็นชันชันละ ๓ กลีบ และมีกลีบเลี้ยง ๓ กลีบ ดอกมีขนาดเล็ก หนาและแข็ง กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปรี มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ภายในดอกเป็นจำนวนมาก ดอกจะมีกลิ่นหอมจัดในเวลาเย็นถึงค่ำ

ฤดูกาลออกดอก

การเวกจะออกดอกตลอดปี

การปลูก

การเวกมีวิธีการปลูกโดยการนำต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด หรือกิ่งที่ได้จากการตอนมาปลูกลงดิน แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะนิยมใช้กิ่งตอนมากกว่าการเพาะเมล็ด เพราะจะทำให้ไม่เสียเวลา การตอนกิ่งควรที่จะทำในช่วงฤดูฝน เมื่อกิ่งตอนงอกรากพอสมควร แล้วจึงตัดมาปลูก

การดูแลรักษา

  • แสง การเวกเป็นไม้กลางแจ้งมีความต้องการแสงมากพอสมควร เหมาะที่จะปลูกริมรั้วบ้าน สวนภายในบ้าน หรือสวนสาธารณะ เป็นต้น
  • น้ำ ควรให้น้ำปานกลาง หากเป็นในระยะแรกปลูกให้รดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น แต่เมื่อต้นโตแล้ว ให้รดน้ำวันละ 1 ครั้ง ก็ได้โดยรดในช่วงเช้า และควรรดให้ดินชุ่ม
  • ดิน การเวกจะขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่หากเป็นดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำได้ดีก็จะเจริญงอกงามได้ดียิ่งขึ้น
  • ปุ๋ย การเวกเป็นพันธุ์ไม้ที่ไม่ต้องการปุ๋ยมากนัก เพียงผสมปุ๋ยหมักกับดินปลูกก็เพียงพอแล้ว
  • อื่นๆ ไม่มี

โรคและแมลง

ไม่พบโรคและแมลงที่ทำความเสียหายมาก

การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง เนื่องจากออกรากง่าย มีรากจำนวนมากและแข็งแรง เมื่อตัดนำไปปลูกชำแล้วไม่ค่อยเหี่ยวเฉาเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและให้ร่มเงาได้ดี

อ้างอิง

แหล่งที่มาดั้งเดิม: ${vars.title} แบ่งปันกับ ใบอนุญาต Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0

หมวดหมู่